data communication4

รู้เรื่องภาษาไทย
1.การสร้างคำสมาส
การสมาสคำ
เป็นการสร้างคำขึ้นเพื่อเพิ่มคำใหม่ประเภทหนึ่ง เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการสื่อสาร โดยนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมเป็นคำเดียวกัน คำที่นำมารวมกันนี้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต เรียกว่า “คำสมาส” คำสมาสจะเป็นคำที่มีความหมายใหม่ คำที่มีความหมายหลักมักจะอยู่ข้างหลัง คำที่ช่วยขยายความหมายจะอยู่ข้างหน้า ดังนั้นการแปลคำสมาสจึงมักจะแปลจากท้ายมาหาคำหน้า เช่น
มหา (ยิ่งใหญ่) + ชาติ (การเกิด) เท่ากับ มหาชาติ หมายถึง การเกิดครั้งยิ่งใหญ่
วีร (กล้าหาญ) + บุรุษ (ชาย) เท่ากับ วีรบุรุษ หมายถึง ชายผู้กล้าหาญ
อุทก (น้ำ) + ภัย (อันตราย) เท่ากับ อุทกภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม
คำสมาส (อ่านว่า สะ – หมาด) คือ การนำคำภาษาบาลีและ/หรือสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกันเป็นคำเดียว มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน โดยคำหลักมักอยู่ข้างหลัง คำขยายมักอยู่ข้างหน้า เช่น ราชธานี คำว่า ธานี ซึ่งแปลว่าเมืองจะอยู่ท้ายคำ
การสร้างคำสมาส คำสมาสในภาษาไทยมีวิธีการสร้างคำ ดังนี้ ๑.นำคำภาษาบาลีและสันสกฤตมาต่อกัน อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับภาษาสันสกฤตก็ได้ เมื่อแปลคำสมาสจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า ตัวอย่าง
ถาวร (มั่นคง, ยั่งยืน) + วัตถุ (สิ่งของ) (บาลี + บาลี) = ถาวรวัตถุ
อ่านว่า ถา – วอน – วัด – ถุ
หมายถึง สิ่งของที่ก่อสร้างที่มั่นคง ยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร
ฌาปน (การเผาศพ) + กิจ (ธุระ, งาน) (บาลี + บาลี) = ฌาปนกิจ
อ่านว่า ชา – ปะ – นะ – กิด
หมายถึง งานเกี่ยวกับการเผาศพ
ราช (พระเจ้าแผ่นดิน) + ฐาน (ที่อยู่) (บาลี + บาลี) = ราชฐาน
อ่านว่า ราด – ชะ – ถาน
หมายถึง ที่อยู่ของพระเจ้าแผ่นดิน
เกษตร (ที่ดิน, ไร่,นา) + กรรม (การกระทำ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = เกษตรกรรม
อ่านว่า กะ – เสด – ตระ – กำ
หมายถึง การใช้ที่ดินเพาะปลูก
ไตร (สาม) + ลักษณ์ (ลักษณะ) (สันสกฤต + สันสกฤต) = ไตรลักษณ์
อ่านว่า ไตร – ลัก
หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน
คณิต (การคำนวณ) + ศาสตร์ (ระบบวิชาความรู้) (สันสกฤต + สันสกฤต) = คณิตศาสตร์
อ่านว่า คะ – นิด – ตะ – สาด
หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณ
หัตถ (มือ) + กรรม (การกระทำ) (บาลี + สันสกฤต) = หัตถกรรม
อ่านว่า หัด – ถะ – กำ
หมายถึง งานช่างที่ทำด้วยมือ
*ข้อสังเกต การสร้างคำวิธีนี้เป็นการนำคำมาเรียงต่อกัน และในการอ่านมักอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน แต่มีบางคำไม่อ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำ หรือบางคำจะอ่านออกเสียงพยางค์เชื่อมระหว่างคำหรือไม่ก็ได้ เช่น
เกียรติคุณ อ่านว่า เกียด – ติ – คุน
หมายถึง คุณที่เลื่องลือ
มาตุภูมิ อ่านว่า มา – ตุ – พูม
หมายถึง บ้านเกิดเมืองนอน
เกียรตินิยม อ่านว่า เกียด – นิ – ยม
หมายถึง ความรู้ดีเด่นเหนือระดับปกติ
จิตพิสัย อ่านว่า จิด – พิ – ไส
หมายถึง ที่มีอยู่ในจิต
มูลนิธิ อ่านว่า มูน – นิ – ทิ หรือ มูน – ละ – นิ – ทิ
หมายถึง ทรัพย์สินที่จัดไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
ศิลปกรรม อ่านว่า สิน – ปะ – กำ หรือ สิน – ละ – ปะ – กำ
หมายถึง สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ
๒.นำคำภาษาบาลีสันสกฤตมาเชื่อมกันเป็นคำเดียวกันอีกแบบหนึ่ง บางครั้งเรียกว่า”สมาสมีสนธิ” หมายถึง การนำคำบาลีสันสกฤต ๒ คำ มาเชื่อมต่อเสียง ให้เสียงกลมกลืนกับพยางค์ต้นของคำหลัง มักเป็น อะ อา อิ อี หรือ อุ อู ไปเชื่อมกับพยางค์ท้ายของคำต้น คำที่นำมาเชื่อมกันนี้อาจเป็นคำภาษาบาลีต่อกับคำภาษาบาลี หรือคำภาษาสันสกฤตต่อกับคำภาษาสันสกฤต หรือคำภาษาบาลีต่อกับคำภาษาสันสกฤตก็ได้ และเมื่อแปลความหมายจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า เช่น
ตัวอย่าง
ภัตต (อาหาร) + อาคาร (เรือน) (บาลี + บาลี) = ภัตตาคาร
หมายถึง อาคารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
เลขา (การเขียน) + อนุการ (การทำตาม) (บาลีสันสกฤต + บาลีสันสกฤต) = เลขานุการ
หมายถึง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ
ศิระ (หัว, ยอด) + อาภรณ์ (เครื่องประดับ) (สันสกฤต + บาลี) = ศิราภรณ์
หมายถึง อาภรณ์ประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ
ปรม (อย่างยิ่ง) + อณู (เล็ก, ละเอียด) (บาลี + บาลี) = ปรมาณู
หมายถึง ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกย่อย
สุข (ความสบายกาย, สบายใจ) + อารมณ์ (ความรู้สึกทางใจ) (บาลี + บาลี) = สุขารมณ์
หมายถึง อารมณ์ที่มีสุข
ราชา (พระเจ้าแผ่นดิน) + อุปโภค (เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์) (สันสกฤต + สันสกฤต) = ราชูปโภค
หมายถึง ของใช้สำหรับพระราชา
*ข้อสังเกต มีคำในภาษาไทยหลายคำที่มีการประกอบคำคล้ายคำสมาส คือ นำศัพท์มาเรียงต่อกันและสามารถอ่านออกเสียง อะ อิ อุ เชื่อมระหว่างคำที่มาต่อกัน แต่ไม่ใช่คำสมาส เพราะไม่ใช่คำรวมของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต และมีภาษาอื่นปน เช่น
คุณ + ค่า (บาลี + ไทย) อ่านว่า คุน – นะ – ค่า, คุน – ค่า
ชีว + เคมี (สันสกฤต + อังกฤษ) อ่านว่า ชี – วะ – เค – มี
เทพ + เจ้า (บาลี + ไทย) อ่านว่า เทบ – พะ – เจ้า
ทุน + ทรัพย์ (ไทย + สันสกฤต) อ่านว่า ทุน – นะ – ซับ
เมรุ + มาศ (บาลี + เขมร) อ่านว่า เม – รุ – มาด
บรรจุ + ภัณฑ์ (เขมร + บาลีสันสกฤต) อ่านว่า บัน – จุ – พัน
พล + เรือน (บาลี + ไทย) อ่านว่า พน – ละ – เรือน
ลักษณะของคำสมาส ๑.คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น อาจจะเป็นบาลีสมาสกับบาลี เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต เช่น อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ บาลีสมาสกับสันสกฤต เช่น วิทยาเขต วัฒนธรรม ๒.คำสมาสไม่ต้องประวิสรรชนีย์หรือมีเครื่องหมายทัณฑฆาตที่อักษรสุดท้ายของคำหน้า เช่น ศิลปกรรม ธุรการ สัมฤทธิ์บัตร วารดิถี ๓.คำที่นำมาสมาสกันแล้ว ความหมายหลักอยู่ที่คำหลัง ส่วนความรองจะอยู่ข้างหน้า เช่น ยุทธ (รบ) + ภูมิ (แผ่นดิน / สนาม) = ยุทธภูมิ (สนามรบ) ๔.คำที่รวมกันแล้วไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำแต่อย่างใด เช่น วัฒน + ธรรม = วัฒนธรรม / โลก + บาล = โลกบาล ๕.คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องต่อเนื่องกัน เช่น ภูมิศาสตร์ อ่านว่า พู – มิ – สาด / เกตุมาลา อ่านว่า เก – ตุ – มา – ลา
หลักการสังเกตคำสมาส ๑.คำที่สมาสกันต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น เช่น ทิพโสต ขัตติยมานะ กิจการ(บาลีสมาสกับบาลี) อักษรศาสตร์ บุรุษโทษ (สันสกฤตสมาสกับสันสกฤต) วิทยาเขต วัฒนธรรม (บาลีสมาสกับสันสกฤต) ๒.คำสมาสมีลักษณะคล้ายการนำคำสองคำมาวางเรียงต่อกัน เวลาอ่านจะมีเสียงสระต่อเนื่องกัน ๓.ไม่มีการประวิสรรชนีย์ ( ) และ ไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น มนุษยสัมพันธ์ พลศึกษา ๔.การเรียงคำ คำหลักจะอยู่ข้างหลัง ดังนั้นการแปลจึงแปลความหมายจากหลังมาหน้า ๕.คำ “พระ” ประกอบหน้าคำบาลี สันสกฤต จัดเป็นคำสมาส ๖.คำที่ลงท้ายด้วยคำว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา มักเป็นคำสมาส
**หมายเหตุ : ยกเว้นคำสมาสบางคำที่วางคำตั้งหรือคำหลักเป็นคำหน้าและวางคำขยายเป็นคำหลังจึงสามารถแปลความหมายจากหน้าไปหลังได้ เช่น บุตรธิดา หมายถึง ลูกและภรรยา สมณพราหมณ์ หมายถึง พระสงฆ์และพราหมณ์ ทาสกรรมกร หมายถึง ทาสและกรรมกรฯลฯ
***แนวคิด : คำไหนมี “ ะ ” หรือ ตัวการันต์ ระหว่างคำ คำนั้นไม่ใช่คำสมาส เช่น กิจจะลักษณะ วิพากษ์วิจารณ์ พิมพ์ดีด
ตัวอย่างคำสมาส
ธุรกิจ
กิจกรรม
กรรมกร
ขัณฑสีมา
คหกรรม
เอกภพ
กาฬทวีป
สุนทรพจน์
จีรกาล
บุปผชาติ
ประถมศึกษา
ราชทัณฑ์
มหาราช
ฉันทลักษณ์
พุทธธรรม
วรรณคดี
อิทธิพล
มาฆบูชา
มัจจุราช
วิทยฐานะ
วรรณกรรม
สัมมาอาชีพ
หัตถศึกษา
ยุทธวิธี
วาตภัย
อุตสาหกรรม
สังฆราช
รัตติกาล
วสันตฤดู
สุขภาพ
อธิการบดี
ดาราศาสตร์
พุพภิกขภัย
สุคนธรส
วิสาขบูชา
บุตรทาน
สมณพราหมณ์
สังฆเภท
อินทรธนู
ฤทธิเดช
แพทย์ศาสตร์
ปัญญาชน
วัตถุธรรม
มหานิกาย
มนุษยสัมพันธ์
วิทยาธร
วัฏสงสาร
สารัตถศึกษา
พัสดุภัณฑ์
เวชกรรม
เวทมนตร์
มรรคนายก
อัคคีภัย
อุดมคติ
เอกชน
ทวิบาท
ไตรทวาร
ศิลปกรรม
ภูมิศาสตร์
รัฐศาสตร์
กาฬพักตร์
ราชโอรส
ราชอุบาย
บุตรทารก
ทาสกรรมกร
พระหัตถ์
พระชงฆ์
พระพุทธ
พระปฤษฏางค์
วิทยาศาสตร์
กายภาพ
กายกรรม
อุทกภัย
วรพงศ์
เกษตรกรรม
ครุศาสตร์
ชีววิทยา
มหกรรม
อัฏฐางคิกมรรค
มหาภัย
อุบัติเหตุ
กรรมกร
สันติภาพ
มหานคร
จตุปัจจัย
2.ลักษณะของประโยค
ความหมายของประโยค
ประโยค เกิดจากคำหลายๆคำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ละคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ แสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น สมัครไปโรงเรียน ตำรวจจับคนร้าย เป็นต้น
ส่วนประกอบของประโยค
ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้
1.ภาคประธาน
ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดงซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้ อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาประกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น
2.ภาคแสดง
ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรมและส่วนเติมเต็ม บทกรรมทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช้กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
ชนิดของประโยค
ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้
1.ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค)
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
2.ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค)
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ ตัวอย่าง
• ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์
• ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม
• ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
• พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย
สันธานที่ใช้ใน 4 ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง – และ, แล้วก็, พอ – แล้วก็
*หมายเหตุ : คำ “แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง
2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น ตัวอย่าง
• พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน
• ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ
2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง
• ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง
• คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล
2.4 ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล
ตัวอย่าง
• เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ
• คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ
*ข้อสังเกต
• สันธานเป็นคำเชื่อมที่จ้ำเป็นต้องมีประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด
• สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น – จึง, ทั้ง – และ, แต่ – ก็ สันธานชนิดนี้เรียกว่า “สันธานคาบ” มักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี
• ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้
3.ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค)
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้
3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อมหรือคำเชื่อม ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
• คนทำดีย่อมได้รับผลดี
คน...ย่อมได้รับผลดี : ประโยคหลัก
คนทำดี : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน
• ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน
ครูดุนักเรียน : ประโยคหลัก
นักเรียนไม่ทำการบ้าน : ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม
3.2 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย
• คนที่ประพฤติดีย่อยมีความเจริญในชีวิต ที่ประพฤติ ขยายประธาน คน
- คน...ย่อมมีความเจริญในชีวิต : ประโยคหลัก
- (คน) ประพฤติดี : ประโยคย่อย
• ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม บ้าน
- ฉันอาศัยบ้าน : ประโยคหลัก
- (บ้าน) อยู่บนภูเขา : ประโยคย่อย
3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์
• เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน
เขาเรียนเก่ง : ประโยคหลัก
(เขา) ตั้งใจเรียน : ประโยคย่อยขยายกริยา
• ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก
ครูรักศิษย์ : ประโยคหลัก
แม่รักลูก : ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน)
หน้าที่ของประโยค
ประโยคต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารย่อมแสดงถึงเจตนาของผู้ส่งสาร เช่น บอกกล่าว เสนอแนะ อธิบาย ซักถาม ขอร้อง วิงวอน สั่งห้าม เป็นต้น หากจะแบ่งประโยคตามหน้าที่หรือลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้
1. บอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ให้เห็นว่า ประธานทำกริยา อะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ เช่น
- ฉันไปพบเขามาแล้ว
- เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ
2. ปฏิเสธ เป็นประโยคมีเนื้อความปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ไม่ได้ หามิได้ มิใช่ ใช่ว่า ประกอบอยู่ด้วยเช่น
- เรา ไม่ได้ ส่งข่าวถึงกันนานแล้ว
- นั่น มิใช่ ความผิดของเธอ
3. ถามให้ตอบ เป็นประโยคมีเนื้อความเป็นคำถาม จะมีคำว่า หรือ ไหม หรือไม่ ทำไม เมื่อไร ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร อยู่หน้าประโยคหรือท้ายประโยค เช่น
- เมื่อคืนคุณไป ที่ไหน มา
- เธอเห็นปากกาของฉัน ไหม
4. บังคับ ขอร้อง และชักชวน เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ ขอร้อง และชักชวน โดยมีคำอนุภาค หรือ คำเสริมบอกเนื้อความของประโยค เช่น
- ห้าม เดินลัดสนาม
- กรุณา พูดเบา
วิดีโอ YouTube
3.การแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ
กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นคำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า "สุภาพ" นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง "รูปวรรณยุกต์" ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้นคำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน กลอนสุภาพ คือกลอนที่ใช้ถ้อยคำ และทำนองเรียบๆ แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
กลอนสุภาพแบ่งเป็น ๔ ชนิด คือ
๑.กลอน ๖ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งค ากลอนมี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๖ คำ(การเรียกชื่อกลอน ๖ จึงมาจากจ านวนค าในวรรค)ในหนึ่งบทมี ๔ วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง
๒.กลอน ๗ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งค ากลอนมี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๗ คำเรียกชื่อกลอน ๗ ตามจำนวนคำในแต่ละวรรค ลักษณะสัมผัสก็จะคล้ายกับกลอน ๖
๓.กลอน ๘ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งค ากลอนมี ๒ วรรค ทุกวรรคมี ๘ คำลักษณะสัมผัสเหมือนกลอน ๖และ ๗
๔.กลอน ๙ เป็นกลอนที่ใช้ในหนึ่งบทมี ๒ คำกลอน หนึ่งคำกลอนมี ๒วรรค ทุกวรรคมี ๙ ค า ลักษณะสัมผัสเหมือนกลอน ๖,๗ และ ๘
แผนผังกลอนสุภาพ
กฎสัมผัส
พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๒พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ และสัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๔ สัมผัสระหว่างบทพยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ของบทถัดไป
สัมผัสในกลอนสุภาพจะมีความไพเราะยิ่งขึ้นไป นอกเหนือจากการสัมผัสตามสัมผัสบังคับแล้วยังต้องมีสัมผัสในที่เป็น สัมผัสสระและสัมผัสอักษร อีกด้วยจึงจะเป็นบทกลอนที่ไพเราะ เสียงวรรณยุกต์ คือ การบังคับเสียงท้ายวรรคของบทร้อยกรองโดยเฉพาะบทร้อยกรองประเภทกลอน อันที่จริงไม่ถึงกับเป็นการบังคับที่เคร่งครัดแต่ก็เป็นความนิยมโดยทั่วไปทางการแต่งบทร้อยกรอง
เสียงท้ายวรรคของกลอน
วรรคสดับ นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ทุกเสียง
วรรครับ นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท และจัตวา
วรรครอง นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ และ ตรี
วรรคส่ง นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ และตรี